2552-11-05

พระพุทธเจ้าทำนาย

พระพุทธเจ้าทำนาย


เมื่อปี พ.ศ. 2485 แปลจากศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตวัน
สาธุ อะระหังสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเมตตามหาสัพสัตว์ทั่วโลก ที่เกิดมาแล้วแต่ลำบาก ทั่วหน้าทุกชาติ ทุกศาสนาตาม

ธรรมชาติเมื่ออาตมาเข้านิพพานแล้วครบ 5000 ปีเป็นที่สุด โลกจะหมุนเข้าใกล้จำนวนที่ คถาคตทำนายไว้ 2500 ปีมนุษย์

และสัว์จะได้รับภัยพิบัติเสียหนึ่งในระยะ 30 ปี สิ่งที่สาธุชนไม่เคยเจอะจะได้เห็น ไม่เคยพบจะได้พบ ยักษ์หินที่ถูกสาบให้หลับ

กลับตื่นขึ้นมาอาละวาดยิ่งนัก ใกล้กับ พ.ศ. 2550 ยิ่งทวีกันใหญ่ขึ้นทุกทิวาราตรี

มนุษย์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันกันจนถึงเลือดตนเองนองเต็มพื้นดิน พื้นน้ำจะลุกลามเผามนุษย์ไม่ขาดระยะ ต่างฝ่ายต่างทำลาย เหมือนยักษย์ กระหายเอลืด แผ่นดินจะลุกเปน็นเปลวไฟ ต่างฝ่ายจะตายไปอย่างละครึ่งหนึ่งจึงจะล้มเลิก

ส่วนพุทธศาสนิกชน ผู้ทำแต่บุญเดินตามทางตถาคตสามารถระงับร้อนำม่รุนแรง แต่หนีภัยพิบัติไม่พ้น ไฟจะลุกลามทางทิศตะวันออกไหม้วัดวาอาราม สมณะชีพราหมณ์ จะอดอยากยากเข็ญ ลูกไฟจะตกจากฟ้าเหล็กกล้าจะผุดจากน้ำ สงครามจะเกิดทั่วทิศ ทหารจะเป็นเจ้า ข้าวสารจะขาดแคลน ทุกแคว้น



จะอดอยาก พลูหมากจะหมดเปลือง สีเหลืองจะชนะ สีขาจะแพ้ภัยในที่สุด ครุฑจะบินกลับฐาน คนจะกลับบำรุงพระ



คำเตือน

โลกมนุษย์กำลังเข้าสู่กาลียุค จะทำให้เกืดภัยธรรมชาติ จากดิน น้ำ ลม ไฟ จะเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สามตามมา มนุษย์จะตายไปกว่าครึ่ง

สำหรับประเทศไทย จะเริ่มตั้งแต่ปี 2550 คาดว่าจะได้รับภัยทางน้ำ และ ไฟ โดยเฉพาะจังหวัดที่ติดชายทะเล และกรุงเทพฯ แผ่นดินจะยุบตัวคลื่นน้ำจะพัดเข้าถล่มมีความสูงกว่า 200 เมตรมนุษย์จะล้มตายมากกว่าครึ่ง น้ำจะเข้าช่องแคบสระบุรี และทางด้านตอนล่างของโคราชบางส่วน ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ สุดท้าย ประเทศไทยจะเหลือประชากรประมาณ 30 %

ส่วนประเทศอื่นทั่วโลกจะเหลือเพียง 10% ประชาชนผู้รอดชีวิตส่วนมากจะสูญเสียสติสัมปชัญญะไม่ปลอดภัยเหมือนเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะไม่เข้าใจบำเพ็ญฌานภาวนา ฉะนั้นอย่าหลงใหลในทรัพย์สินของตนให้มากนัก เพราะเมื่อเข้าสู่ยุคศิวิไลเงินทอง จะไม่มีค่าเลยเพราะ มนุษย์ยุคนั้นจะเข้าวัดกันที่ความดี ศีลธรรม ปีมะโรง พ.ศ.2555 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2556 ปีระกา พ.ศ.2560 พ.ศ.2561 ปีกุน พ.ศ.2562 คำทำนายของสมเด็จ พุทฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

รัชกาลที่ 1 ทายว่า มหากาฬ (ทำลายเพื่อน พี่น้อง)

รัชกาลที่ 2 ทายว่า ฌาณยักษ์ (ชำนาญเวทมนต์)

รัชกาลที่ 3 ทายว่า รักมิตร (มีการค้ากับต่างชาติมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทายว่า สนิทคำ (ออกบวช)

รัชกาลที่ 5 ทายว่า จำแขนขาด ( เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเขมร เพื่อปกป้อง อธิปไตย)

รัชกาลที่ 6 ทายว่า ราชโจร (เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกลุ่มโจรมากมาย มีการตั้งกองเสือป่าครั้งแรกของเมืองไทย)

รัชกาลที่ 7 ทายว่า ชนร้อนทุกข์ (เกิดการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย)

รัชกาลที่ 8 ทายว่า ยุคทมิฬ (พระเจ้าแผ่นดินถูกลอบปลงพระชนม์)

รัชกาลที่ 9 ทายว่า ถิ่นกาขาว (มีฝรั่งเข้ามามากมาย นำเงินมาซื้อประเทศไทยให้เกิดวิกฤตการเงิน)

รัชกาลที่ 10 ทายว่า ชาวศิวิไลย์ (จะมีเหลือเฉพาะผู้ที่มีบุญเท่านั้นที่รอคอย เป็นยุคของพระศรีอริยเมตไตย)



" โลชังชม โทโพโส อินโกรุณา

พระอิทร์พรหม ยมราช ได้สั่งไว้ว่า ถ้าบุคคลใดได้รู้แล้ว จงรับบอกต่อให้คนอื่นฟังรือพิมแจกตามกำลังศัทธา จะเกิดมหากุศลช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากมหันตภัยพิบัติทั้งปวง ถ้าใครไม่มีไว้ในบ้านจะมีภูมิปีศาจเข้ามาทำลายอย่างแน่แท้ ผู้ใดนำเรื่องไปพิมแจก 1000 ใบ ภายใน 15-30 วัน ผู้นั้นจะมีโชคลาภ มีความสุข ความเจริญ คิดสิ่งใดสมปรารถนาทุกประการ และผู้ใดได้รู้ได้อ่าน อย่าคิดว่าเป็นการหลอกลวง หรือไม่เชื่อ และผู้ใดคิดจะพืมแจก ก็ต้องพิมพ์แจกภายใน 15-30 วัน อย่าคิดพิมพ์ผัดวันประกันพรุ่ง หรืออ่านแล้วทิ้ง มันผู้นั้นจะมีเรื่อง และมีภัยพิบัติเกิดขึ้นกับผู้นั้น

2552-10-28

เวบดูหนังฟรี

ใครอยากดูหนังฟรีก็ลองเข้าเวบนี้ได้เลยนะค่ะ

มีหนังให้เลือกดูเยอะแยะเลยละ

http://www.freenung.com/

คำอธิษฐานเสริมดวง

คำอธิษฐานเสริมดวง




คำอธิษฐานเสริมดวง จะช่วยเสริมดวงชะตาของท่านให้สมความปราถนา เป็นสิริมงคลแห่งชีวิต

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ท่านต้อง คิดดี ทำดี และประพฤติดี ทั้งกาย วาจา และ ใจ ตลอดเวลาและตลอดไป





คำอธิษฐานในการปล่อยปลา ปล่อยเต่า หรือสัตว์น้ำ



ควรจะซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า จะดีที่สุด

ก่อนที่จะปล่อยให้เอาน้ำมา 1ถ้วยเทลงไปในถังที่ใส่สัตว์ที่จะปล่อย แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า

ข้าพเจ้า ชื่อ...............นามสกุล...............เกิดวันที่........เดือน......พ. ศ. ..........อายุ ..........ปี ได้ปล่อยสัตว์..........จำนวน..............ตัว

ขอปล่อยท่านทั้งหลายให้เป็นอิสระ ข้าพเจ้าให้ชีวิตแก่ท่าน

ข้าพเจ้า ได้ให้ความเป็นอิสระแก่ท่าน ข้าพเจ้าจะช่วยท่านให้พ้นจากความทุกข์ และความเดือดร้อน ให้พ้นจากการถูกเขาประหาร ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำให้แก่ท่านในครั้งนี้

จงเป็นเครื่องอโหสิแก่กัน อย่าได้ถือโทษโกรธเคืองต่อไป

ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อข้าพเจ้าปล่อยท่านเป็นอิสระแล้ว

จงไปบอกพวกของท่านที่ทนทุกข์ทรมานอยู่ ถึงส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้

แล้ว ขออุทิศกุศลทั้งหมดที่ทำไปแล้วให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้พ้นทุกข์ จากความเดือดร้อนทั้งปวง และจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด...

ผู้ที่ต้องการกุศลปล่อยสัตว์นั้น ควรพิจารณาด้วยว่าสัตว์นั้นๆ จะมีชีวิตอยู่รอดได้หรือไม่ ในสถานที่ที่ท่านตั้งใจจะนำสัตว์เหล่านั้นไปปล่อย...









คำอธิษฐานปล่อยสัตว์



ข้าพเจ้าชื่อ ...........นามสกุล........เกิดวันที่..........เดือน......พ.ศ. ..........อายุ ..........ปี ได้ปล่อยสัตว์............จำนวน..............ตัว

ปล่อยเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตัวเอง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ศัตรู และเจ้ากรรมนายเวร

ตัวที่เป็นที่พึ่งขอให้นำความสุขและโชคลาภมาให้ข้าพเจ้า

ตัวที่ให้กับศัตรูและเจ้ากรรมนายเวร

จงนำเอาสัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร ออกไปจากตัวข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

ขอให้แม่พระธรณี พระแม่คงคา เทพเทวา เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

จงเป็นสักขีพยานรับทราบกุศลเจตนาของข้าพเจ้า

และคุ้มครองชีวิตสัตว์ให้ปลอดภัยจนสิ้นอายุขัย ด้วยอำนาจขอกุศลผลบุญครั้งนี้

จงสะเดาะเคราะห์ร้าย ของข้าพเจ้าให้กลับกลายเป็นดี มีความร่มเย็นเป็นสุข

ประสบความสำเร็จสมหวังในสิ่งที่พึงปรารถนา มีความเจริญก้าวหน้า มีชีวิตสดชื่น สุขสดใส ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปด้วยเทอญ..

ผู้ ที่ต้องการกุศลปล่อยสัตว์นั้น ควรพิจารณาด้วยว่าสัตว์นั้นๆ จะมีชีวิตอยู่รอดได้หรือไม่ในสถานที่ที่ท่านตั้งใจนำสัตว์เหล่านั้นไป ปล่อย...





คำอธิษฐานจบทานเวลาทำบุญ



อิมัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ

ขอทานนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สิ้นอาสวะกิเลส

อิมัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ

ขอทานนี้จงเป็นปัจจัย ให้แก่ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้

ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สรรพสมบัติ

ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด

ขอจงสมความปรารถนาทุกประการ

อันว่าโรคภัยไข้เจ็บความยากจนค้นแค้น และคำว่า ไม่มี ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้ประสบเลย..





คำอธิษฐานอโหสิกรรม

ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำให้แก่ผู้ใดในชาติใดๆก็ตาม

ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย

แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น

ยก ถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานครั้งนี้ ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติและผู้อุปการะคุณ ของข้าพเจ้ามีความสุขความเจริญ ปฏิบัติ แต่สิ่งดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ..





คำอธิษฐานขอพร

ข้าแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอน้อมอัญเชิญ เทพยดาเจ้าทั้งหลาย

โปรดเสด็จมาฟังการสวดมนต์ของข้าพเจ้า ขออนุโมทนา และประสิทธิ์ประสาทพรให้ข้าพเจ้า...ด้วยเทอญ

ให้ตั้งนะโม 3 จบ และมนัสการพระรัตนตรัย พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐาน..

ขอพระองค์ทั้งหลาย จงประทานพรให้ข้าพเจ้า..พ้นจากสัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร

จงพ้นจากตัวข้าพเจ้า..ด้วยเทอญ ...สาธุ

(กราบ 3 ครั้ง)



คำขอขมาโทษ

กรรม ชั่วอันใด ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ ด้วย กาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงเพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอพรพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณบิดา-มาดา ครูบาอาจารย์ จงยกโทษให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ความทุกข์ขออย่าได้ ความไข้ขออย่าให้มี ขอให้มีความสุขสวัสดีมีชัย หายทุกข์ หายโศก หายโรค หายภัย หายอุบาทว์ เสนียดจัญไร อันตรายทั้งหลายจงเสื่อมไป สิ้นไปสูญไปหายไป ข้าพเจ้าจะปรารถนาสิ่งใด ขอให้สมความปรารถนา นิพพายะ ปัจะโย โหตุ (จงตั้งจิต อธิษฐานตามความปรารถนาที่ต้องการตามใจชอบ)

2552-10-19

พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร (ย่อ)



ชินะปัญชนะระ ปะริตตังมัง รักขะตุสัพพะทา หรือ วิญญาณสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา นะโมพุทธายะ (สวด 9 จบ)


คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา


ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐาน เริ่มสวด นโม 3 จบ


ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง
สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก
เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุต
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะ
กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลัง
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโตจะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ
(ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา)


บทสวดพระคาถาชินบัญชรแบบย้อนกลับ ตั้งนะโมฯสามจบ


จากนั้นขอให้กล่าวคำ อธิฐานจิตดังนี้


ณ กาลบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อ นามสกุล) ขอพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เพื่อขอน้อมเกล้าอันเชิญพระคาถาชินบัญชรมาสวดท่องภาวนา ขอมหิธานุภาพจากการสวดท่องพระคาถานี้ จงเป็นเครื่องขจัดทุกข์ ทำให้ลูกเกิดมีปัญญามาก มีวิริยะมากมีความอดทนมาก หมดไปซึ่งความโกรธ ความโลภและความหลง บังเกิดความทรงจำอันยาวนาน และมีความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไป

ติ โตลิปา วะภานุ มาธัมสัท มิรามิจะ โยราตะ ตันชิ นะเวภานุ ฆาสัง โคสังริ ตาชิ นะเวภานุ มาธัม โวทะปัท ตุชิ นะเวภานุ นาชิ โขรักสุ โตคุตสุ โตมัน วะเจอิจ ภาสะสาริปุหามะ เตเพสัพ หัง ตุเลนปาทาสะ เลตะหิมะ ตังรันหะวิ หิฌัมมัช ระชะปัญนะชิ เรชะปัญ ธะพุทธสัม ทาสะ นะเจกิจสะ เม โตสะวะ สาชะเตนะชิ ตะนันอะ ตุยัน ยังนะวิ สาเสอา วาทะปัท ตุฌัตรัชหิพา ตาชาสัณทิ ตาปิต ตะวา ตากะลังระกาปา ตะสัต ตายุตสังละพะ นานา นาชิ ตาฐิสัณระกาปา สาเส สิอา นังทะฉะ เสกาอา กังตะสุต ยะฎินา ฎาอา จะตัญริตปะ ระโมธะขัน กังละ มาลิคุอัง เมวา สิอา โตฉะปัจ คังชัคธะ กังตะสุตตะเมต เฌขิทัก สิอา โตระปุ นังตะระ ตาฐิสัณ สุเคมังคะอัง นะเชเตละสี ตาลันชะ สาระโนชิ โตวันตะชิ ราเถหามะ ติสีเตเอ กาวะสานะชิ ตาชิ ราเถหามะ ติสีสาเส มะมะ กาละติ เตลานะ ตาชิเมอิ จะปัญราเถ ลีวะสี ทะนันลีปาอุ จะโลมาลิคุอัง โณปุณ โรกะณาคุ สิฐาติฏปะ จังนิจ เนทะวะ หังมัยโส โกทะวาตะจิต สีเหมะ โรเถ โปสะกัส ระมากุ โวคะปุงนิมุ โตภีโส โนปันสัมริสิ โนสินนิ โรกะภังปะ วะโยริสุ มิงคัสภาฐิปิฎ เตเสนเก เกตะโสมะวา สุงภาอุ โมนาหามะจะ โปสะกัส โลหุราทะนันอา สุงอา หังมัย เนวะสะ เณขิทัก เกมะวาจะ โนลาคัลโมค มิงคัส ภาฐิปิฎ โญฑัญโกณ เณขิทักจะ โตปุตรีสา โธรุทนุอ เม เยทะหะ โรกะณาคุ พะสัพ เรอุ หังมัย โตฐิติฎปะ โฆสัง เนจะโรวิทะ โมธัม โธพุท หังมัย โตฐิติฎปะ เสสี ราสะนิมุ เตเกถะมัต หังมัย ตาฐิติฎปะ เพสัพ กายะนา ติสะวี ฐะอัฎ ธาพุท โยทะรากะหังตัณ ภาสะรานะ สุวิงปิเย สังระ ภาสะ จาสัจตุจะ นังหะวาสะ รังมา วาตะเช ธาพุท ตากะนาสะยาชะ


บทสวดมนต์

กราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นมัสการ (นะโม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

ไตรสรณคมน์ (พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉาม
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

พระพุทธคุณ (อิติปิ โส)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

พระธรรมคุณ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *
(* อ่านว่า วิญญูฮีติ)

พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
(อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง* วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
* พรัหมัง อ่านว่า พรัมมัง

มหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง
ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะรา
ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนั ขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ
สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ** จาริสุ ปะทักขิณัง
กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล

พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

บทแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

ลำดับการสวดมนต์

“พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดู เคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่า โยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด “พาหุงมหากาฯ” หายเลย สติก็ดีขึ้น เท่าที่ใช้ได้ผล สวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว (อิติปิโส ภะคะวา จนถึง พุทโธ ภะคะวาติ) ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล”

ตั้งนะโม ๓ จบ
สวดพุทธัง ธัมมัง สังฆัง
สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
สวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
สวดมหาการุณิโก
สวดพุทธคุณ อย่างเดียวเท่ากับอายุ บวก ๑
เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ อายุ ๕๔ ปี ให้สวด ๕๕ จบ เป็นต้น
แผ่เมตตา
อุทิศส่วนกุศ

วิธีสวดมนต์ให้ได้อานิสงส์สูงสุด

1.อย่าสักแต่ว่าสวดเป็นนกแก้วนกขุนทอง คือท่องๆ บ่อยๆ ไปตามอักขระที่อ่านหรือนึกได้ ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องให้รู้ความหมายด้วย ไม่จำเป็นขนาดนั้น เพราะการรู้ความหมาย เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น (แต่ถ้ารู้ความหมายด้วย ก็เป็นเรื่องดี) จะรู้ความหมายหรือไม่รู้ความหมายก็ไม่สำคัญเท่ากับการสวดมนต์อย่างมีสมาธิ




2.ต้องสวดมนต์อย่างมีสมาธิ หมายความว่า เวลาที่จะสวดมนต์นั้น ต้องรู้ก่อนว่าสวดมนต์บทไหน (จะรู้ความหมายหรือไม่รู้ก็ได้) แต่เวลาที่สวดมนต์นั้น ให้รู้ว่าอักขระหรือตัวหนังสือที่เรากำลังจะท่องนั้น คือตัวอะไร ฟังดูอาจจะเข้าใจยาก เอาอย่างนี้ เวลาที่จะสวดมนต์ เช่น นะโม ตัสสะ ฯลฯ ก็ต้องรู้ว่าตอนนี้กำลังสวดคำว่า นะ คำว่า โม คำว่า ตัส คำว่า สะ คือให้รู้ตัวทุกตัวอักขระว่ากำลังสวดคำไหน ทำได้มั้ยครับ ถ้าทำได้..คือรู้ตัวว่าสวดอักขระตัวไหน เราก็จะมีสติใจจดจ่อกับคำสวดตามอักขระ เมื่อมีสติเราก็จะมีสมาธิ การมีสติ และมีสมาธิในเวลาสวดมนต์นั้น จะได้รับ " พลังงาน " ที่ดี



ทำให้ได้ แล้วจะได้รู้ว่า สวดมนต์เวลาที่มีสติและสมาธิ จะ " ดีกว่า " สวดมนต์แบบนกแก้วนกขุนทองอย่างมากมายมหาศาล จะท่องโดยไม่ต้องดูตัวหนังสือก็ได้ แต่อย่าขี้เกียจ หมั่นท่องจำไว้ให้ได้ก็ดี อย่านึกว่ามีหนังสือ มีตำรา แล้วเอาแต่เปิดหนังสือ เปิดตำราท่อง แรกๆ ก็เปิดได้ เพราะคนไม่เคยท่องจะให้จำได้อย่างไร แต่ถ้านานๆ ไป ควรท่องจำเองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือหรือตำรา เพราะการท่องด้วยจิตใจที่จดจ่อกับคำที่เราท่อง สิ่งที่เราได้ก็คือ จิตจะมีสมาธิ

การสวดมนต์ก็คือการปฏิบัติสมาธิอย่างหนึ่งเช่นกัน

อานิสงส์ผลบุญ15อย่าง อันแรงกล้า ให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า

1. ถือศีล 5 การถือศีล 5 เป็นประจำจะช่วยเสริมดวงชะตาและจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามการทำดีและไม่เบียดเบียนใครถือเป็นการทำบุญกุศลที่ได้อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้

2. การถือศีล 8จะช่วยเสริมดวงและแก้เคราะห์ได้เช่นเดียวกับการถือศีล 5 แต่การถือศีล 8 นั้นปฏิบัติได้ยากยิ่งแต่เมื่อปฏิบัติได้สำเร็จจะได้กุศลแรงนักปฏิบัติแล้วยังช่วยเสริมดวงอำนาจบารมีได้
3. กินเจก็เพื่อลดละชีวิตสัตว์ ซึ่งได้อานิสงส์ผลบุญสูงและควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถ้าอธิษฐานไว้ว่า 7 วัน ก็ทำให้ครบ 7 วัน อาจตั้งจิตว่าจะทำทุกวันพระและทุกเดือนหรือปฏิบัติทุกเดือน เดือนละ 3 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น
4. ไหว้พระและถวายดอกไม้ธูปเทียนรวมทั้งการปิดทองคำเปลวและเครื่องหอมผลบุญนี้จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า
5. ถวายน้ำมันตะเกียงเพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง
6. ถวายสังฆทานเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสน
7. ไหว้พระไหว้บูชาเทพต่างๆ จะทำให้พบกับความสุข ความเจริญเกิดความสุขใจว่ามีที่พึ่งพิงยึดเหนี่ยวนำมาซึ่งกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไปและรู้สึกเสมอว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
8. ทำบุญปล่อยสัตว์เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่ถือว่าได้บุญแรง จะต้องทำด้วยความตั้งใจจริงเช่น การไปซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าไปปล่อยไถ่ชีวิตวัวควายถวายวัดเพื่อมอบให้ชาวนานำไปใช้ประโยชน์ซื้อปลาในตลาดที่จะถูกฆ่าไปปล่อยน้ำ ผลบุญนี้ยังผลให้หมดทุกข์ หมดภัยและพบความสุขความเจริญในชีวิต
9. ทำบุญ ให้ทานเป็นการรู้จักเสียสละตนเองและแบ่งปันให้ผู้อื่นซึ่งผลบุญจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีจิตใจยินดีในการทำบุญให้ทานด้วยไม่ว่าจะเป็นการบำรุงพุทธศาสนา หรือการให้ทานเกื้อกูลคนยากไร้ล้วนแล้วแต่เป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี
10. ทำทานแก่คนยากไร้เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติดมีความไม่โลภผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุนยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง
11. ทำบุญโลงศพซื้อโลงศพบริจาคศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้
12. พิมพ์หนังสือธรรมะแจกจัดพิมพ์เองหรือร่วมบริจาคสมทบทุนการพิมพ์กับผู้อื่นก็ได้เป็นการเสริมดวงให้มีวาสนาบารมี เพื่อให้ปัญญาสว่าง หมดทุกข์ หมดโศกไม่มีเคราะห์ร้ายมากล้ำกราย
13. บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟจะช่วยให้ชีวิตราบรื่น หมดทุกข์ หมดโศก ประสบแต่ความโชคดี
14. ซื้อข้าวสารถวายวัดเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้าตามสถานสงเคราะห์เป็นการสั่งสมบุญกุศล เพื่อให้ชีวิตมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยบารมี
15. การตักบาตรร่วมขันกับผู้อื่นหรือทำบุญร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์หรือโดยทางอื่น จะส่งผลให้เนื้อคู่ดูดีดวงชะตาแข็งแกร่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกันและจะได้แต่เพื่อนที่ดีในชาตินี้

ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์แรงสุด

ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์แรงสุด





พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่อนาบิณฑกเศรษฐี เป็นการจัดอันดับคุณค่าของการทำบุญดังมีความย่อที่ท่าน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้เมตตาสรุปไว้ดังนี้…..
"จะมีใครสังเกตุว่า ในการทำบุญนั้น พระพุทธเจ้าทรงตั้งจุดสูงสุดไว้4ระดับ จุดธรรมดา5ระดับ"
แต่จุดธรรมดานี้คนทั่วไปถือว่าเป็นจุดสูงสุด กล่าวคือ
1.การถวายทานแด่พระอริยบุคคลทั้ง4ระดับ.
2.การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า
3.การถวายทานแด่พระพุทธเจ้า.
4.การถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข และ
5.การถวายที่อยู่อาศัยแก่สงฆ์จาก4ทิศ.
ที่คนทั่วไปถือว่าเป็นจุดสุดยอด ก็เพราะเป็นการยากยิ่งที่จะได้ถวายทานทั้ง5รายการนั้น แม้นเพียงรายการใดรายการหนึ่ง.
แต่พระพุทธเจ้ากลับทรงแสดงว่ามีอีก4รายการ ที่นับว่ามีผลมาก มีอานิสงค์มากกว่านั้น คือ
1.การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
2.การรักษาศีล.
3.การแผ่เมตตาแม้ชั่วรีดโคนม(จากบนลงล่าง) และ
4.การกำหนดหมายความไม่เที่ยง(อนิจจสัญญา) แม้นเพียงชั่วลัดนิ้วมือ(คืองอหรือเหยียดนิ้ว)
ข้อน่าพิจาณณาก็คือ 5ข้อแรกเป็นเรื่องความดีงามของท่านผู้อื่น เป็นการบูชาความดีก็นับว่าดีแล้ว…..แต่4ข้อหลังเป็นการเอาความดีงามมาไว้ใน ตนเอง….


ประโยชน์ของการสวดมนต์

เชื่อหรือไม่ ว่าหากเราสวดมนต์(ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม) เพื่อให้ใครสักคนหายป่วย แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก แต่พลังแห่งบทสวดนั้นจะเดินทางไปเยียวยาความเจ็บป่วยของเขาได้ ??? เพราะการสวดมนต์บำบัดทำให้เกิดทั้งคลื่นเสียงที่สามารถเดินทางลึกเข้าไปในสมอง และคลื่นไฟฟ้าที่ส่งกระจายไปในชั้นบรรยากาศไกลๆได้การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy หรือ Vibrational Medicine คือการใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย ซึ่งมีหลากหลายวิธี อาทิ เก้าอี้ไฟฟ้า เครื่องนวดต่างๆ ก็เป็นVibrational Therapy เช่นกัน แต่เป็นคลื่นไฟฟ้าเชิงฟิสิกส์ ที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ต่างจาก สวดมนต์บำบัดซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ดังนั้นมาดูพลังแห่งการสวดมนต์บำบัดกัน ว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร ???
คลื่นแห่งการเยียวยาการสวดมนต์ใช้หลักการทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดการเยียวยา ซึ่งหากคลื่นเสียงที่มากระทบดังแบบไร้ระเบียบ คือประกอบด้วยเสียงที่มีความถี่ต่างๆกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อการบำบัดกลไกดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อหูของเราได้ยินเสียงบทสวด ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังศูนย์การได้ยินที่อยู่บริเวณสมองกลีบขมับ ก่อนส่งไปบริเวณก้านสมอง ซึ่งเมื่อได้รับคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาที ก็จะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์มากมาย
เสียงสวดมนต์ด้วยสมาธิเป็นยา :ให้ผลกับร่างกายเอนกอนันต์
รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเพิ่มเติมดังนี้
“สมองของเราเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้เซลล์ประสาทของระบบประสาทสมองสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายๆชนิด
“บริเวณก้านสมองจะหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน (serotonin) เพิ่มขึ้นซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ เพราะจะช่วยยึดอายุการทำงานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกาย ให้ชีวิตยืนยาวขึ้น และยังมีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับ เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง โดปามีน มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการพาร์กินสัน'
“นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น อะเซทิลโคลีน ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้ความดันลดลง และยังช่วยลดปริมาณ อาร์กินิน วาโซเปรสซิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความก้าวร้าว ความสมดุลของน้ำ และซีโรโทนินยังเข้าไปลดปริมาณของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของการทำงานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่ อาจารย์สมพรเสริมว่า“หลักการสำคัญอยู่ที่หากมีสิ่งเร้า หลายๆประเภทเข้ามารบกวนกระบวนการทำงานของคลื่นสมองพร้อม ๆ กัน ทำให้สัญญาณคลื่นสมองเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทจะสับสน ไม่มีผลในการเยียวยา สิ่งเร้านี้มาจากหลายส่วน ทั้งตัวเอง เช่น บางคนปากสวดมนต์ แต่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น ก็ไม่ได้ประโยชน์ และการเกิดเสียงดังอื่นๆ เข้ามารบกวนขณะสวดมนต์ เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก เรามีตัวประสาทรับสัญญาณมากมาย เรารับสิ่งเร้าได้ทั้งจากทางปาก ตา หู จมูก การเคลื่อนไหว และใจ เหล่านี้ทำให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไป ร่างกายก็จะสร้างซีโรโทนินได้ไม่มากพอ”และไม่ใช่เฉพาะสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์เท่านั้นที่เราจะได้จากการสวดมนต์ แต่การสวดมนต์ยังทำให้อวัยวะต่างๆได้รับการกระตุ้น คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์สวดมนต์กระตุ้นอวัยวะอาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า
“เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือนไม่เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียงหรือตามวิธีเปล่งเสียง แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปากเหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก บางเสียงออกมาจากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน บางเสียงออกมาจากคอ ดังนั้น ถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์จึงเกิดพลังของการสั่น”และเมื่อเกิดพลังของการสั่น การสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่วยได้อย่างไร อาจารย์เสถียรพงษ์อธิบายต่อว่า“เวลาเราสวดมนต์ เสียงสวดจะไปช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด เช่นการวิจัยของฝรั่ง พบว่า อักษร เอ บี ซี ดี จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกายถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆเข้า ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น”นอกจากนี้ยังมีบทความที่อธิบายเกี่ยวกับการฝึกเปล่งเสียงเพื่อรักษาโรคจากเสียงต่างๆ เช่น โอม กระตุ้นหน้าผาก ฮัม กระตุ้นคอ ยัม กระตุ้นหัวใจ ราม กระตุ้นลิ่นปี่ วัม กระตุ้นสะดือ ลัม กระตุ้นก้นกบ เป็นต้นแต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทางใจที่มีคุณค่ากับผู้สวดรองศาสตราจารย์จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปว่ามี 2 ข้อคือ

1.การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ


2.ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดีงาม จิตใจก็จะสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวดเมื่อร่างกายที่รับสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะต่างๆให้ทำงานเป็นปกติ เท่ากับว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมทำให้ภูมิชีวิตดีขึ้นเป็นลำดับ ความป่วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่อาจารย์สมพร สรุปให้ฟังว่า การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการป่วยและโรคร้ายดังต่อไปนี้


1. หัวใจ 2. ความดันโลหิตสูง 3. เบาหวาน 4. มะเร็ง 5. อัลไซเมอร์ 6. ซึมเศร้า 7. ไมเกรน


8. ออทิสติก 9. ย้ำคิดย้ำทำ 10. โรคอ้วน 11. นอนไม่หลับ 12.พาร์กินสัน


สวดมนต์อย่างไรให้หายจากโรค
สวดมนต์บำบัดมีวิธีการและจุดประสงค์ที่หลากหลาย สรุปออกมาได้ 3 แบบ
1.การสวดมนต์ด้วยตัวเอง
เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า Prayer Therapy ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใครสักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง วิธีการที่อาจารย์สมพรแนะนำคือ
-ควรสวดด้วยตัวเอง และไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน
- หาสถานที่ที่สงบเงียบ
-สวดบทสั้น ๆ 3-4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา
-ขณะสวดมนต์ให้หลับตา สวดให้เกิดเสียงดังเพื่อให้ตัวเองได้ยิน


2.การฟังผู้อื่นสวดมนต์
เป็นการเหนี่ยวนำโดยคลื่นเสียงจากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์ เสียงผู้นำสวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา(healing)ผู้ฟัง แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆ นอกจากจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย อาจทำให้เสียสุขภาพได้


3.การสวดมนต์ให้ผู้อื่น
ปรากฏการณ์มากมายที่เราเห็นในสังคม เมื่อใครสักคนเจ็บป่วย เรามักสวดมนต์อธิษฐานขอให้ความเจ็บป่วยของเขาหายไป บางครั้งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เสียงสวดมนต์เหล่านี้จะมีผลทำให้สุขภาพเขาดีขึ้นจริงหรือไม่ อาจารย์สมพรอธิบายดังนี้
คลื่นสวดมนต์ เป็นคลื่นบวก เพราะเกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้า ซึ่งมนุษย์มีเซลล์สมองที่สามารถส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าและสารเคมีได้ถึง สิบยกกำลังสิบ คลื่นนี้จึงเดินทางไปได้ไกลๆ
บางทีพ่อกำลังป่วยหนักอยู่ที่นี่ แต่ลูกอยู่ต่างประเทศ ก็สามารถรับคลื่นนี้ได้และรู้ว่ามีใครกำลังไม่สบาย ที่เราเรียกว่า ลางสังหรณ์หรือสัมผัสที่หก
“การับรู้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับผู้ส่งด้วย ถ้าคนไหนรับสัญญาณคลื่นแห่งบทสวดมนต์ได้จึงได้ผล เหมือนเราเปิดวิทยุ ถ้าคนฟังปิดหูก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นถ้าต่างฝ่ายต่างเปิดรับคลื่นบวกที่เราส่งไปผู้ป่วยก็จะได้รับ และทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องของความมหัศจรรย์ แต่เป็นหลักธรรมชาติทั่วไป


เลือกสวดมนต์อย่างไรดี
แล้วบทสวดที่เลือกควรใช้บทไหนดี อาจารย์สมพรแนะนำว่า
“น่าแปลกที่บทสวดในศาสนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนจังหวะเพลง จะมีโทนเสียงแค่ไม้เอกไม้โทเท่านั้น สักสามสี่พยางค์ มาสวดซ้ำไปมาได้ทั้งนั้น
พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมายหลายบท ให้เลือกใช้ตามความชอบ ยกตัวอย่างเช่น อิติปิโส หรือนะโมตัสสะ นะโมพุทธายะ หรือสัพเพสัตตา ฯลฯ เลือกท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วสวดวนไปวนมา หรือโพชฌงค์ 7 ที่หลายคนนิยมสวดให้ตัวเองหรือคนไข้หายป่วย
“ข้อที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆคือ คลื่นเสียงของบทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่สองจังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด”
อยากให้ตัวเองและผู้อื่นมีสุขภาพกายใจเป็นสุขและยังน้อมนำกุศลจิต เริ่มจากการสวดมนต์เป็นประจำด้วยสมาธิ

อานิสงส์ของการสวดมนต์

อานิสงส์ของการสวดมนต์


๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น
๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน
๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย
๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น
๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง
และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น




ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า


๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่


๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย


๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร


๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน


๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน


๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้


๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง


๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน


๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์


และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...


๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา


๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม


๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร


๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ


๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา


๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้


๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว


๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป


๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ